Toward Sustainable Growth

บทสัมภาษณ์ของคุณทิฆัมพร เปล่งศรีสุข 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ในปี 2555 
กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ สะท้อนให้เห็น
ภาพการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ LPN ตลอด 23 ปี 
แห่งการก่อตั้งบริษัท รายละเอียดคำให้สัมภาษณ์ สรุปได้ดังนี้

23 ปี พูดถึง LPN จะคิดถึงอะไร
ก็คงคิดถึงคำว่าชุมชนน่าอยู่ (Vibrant Community) 
เพราะนี่คือสิ่งที่เราหล่อหลอมให้กับเครือข่ายอาคารชุด
ในเครือลุมพินี ลูกค้าหรือเจ้าของร่วมเมื่อเข้าไปอยู่ในชุมชน
จะได้รู้ว่าได้รับการใส่ใจ ความเป็นชุมชนน่าอยู่จะถูก
หล่อหลอมเพื่อทำให้เกิดการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือแบ่งปันกัน

ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้ง
ช่วงวิกฤต LPN เป็นบริษัทจากรายได้ปีละไม่ถึงพันล้าน
จนวันนี้เรามีรายได้หมื่นกว่าล้านบาทนั่นคือ สิ่งที่ลูกค้า
มองเห็น ผู้ถือหุ้นมองเห็น ถามว่าผู้ถือหุ้นเป็นใคร 
เรามีผู้ถือหุ้นต่างประเทศเข้าไปตั้ง 70% 
ทั้งที่ผมไม่ได้ไปโรดโชว์อะไรเลย
เราไม่ได้สร้างภาพโชว์ตัวเลข แต่โชว์ศักยภาพให้เขาเห็น 
เขามองคน (ลูกค้า) ที่อยู่กับเราแฮปปี้  เพราะชุมชนน่าอยู่ 
ถ้าผู้บริโภคไม่ตอบรับก็ไม่มีประโยชน์ ผมกล้าท้าให้ไปถามสิ 
คนที่อยู่กับเรา เราทำจริงไหม 
ชุมชนน่าอยู่ทำเพื่อสร้างภาพหรือเปล่า LPN จัดประชุม
ประธานนิติบุคคล 70-80 นิติฯ ในเครือลุมพินี 
ผมก็ทำของผมอยู่ทุกปี โดยไม่กลัวว่า ทางนิติฯ 
จะมาสร้างเงื่อนไขต่อรองกับเรา

มองอนาคต 5 ปี ข้างหน้า
เรามองดูว่าเรายังก้าวไปได้ การก้าวไปข้างหน้าผมพูดตลอดเวลา
ไม่ใช่ว่าตลาดมีหรือไม่มี เราต้องตอบว่าตลาดมี (เน้น) 
แต่สิ่งที่เราทำตลอดคือพัฒนา (บุคลากร) ข้างในตามทันให้ได้ 
แต่ก่อนที่บริษัทของเราพัฒนา คอนโดฯเพิ่มปีละ 3-4 โครงการ
ก็เรื่องหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้เพิ่มทีละ 10 โครงการ ส่งมอบปีละ
หมื่นห้องชุด คนของเราเรียนรู้ทันไหม ปรับทันไหม
เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ผมเปลี่ยนทีมผู้บริหารชุดใหม่ ก็มีคำถามว่า
ทำไมต้องเปลี่ยน ก็คำถามนี้แหละที่ทำให้ต้องเปลี่ยน 
เพราะเวลามองเข้ามา คุณกำลังไปยึดถือตัวบุคคล 
ผมใช้เวลาหล่อหลอมทีม แอล.พี.เอ็น.ฯ อย่าง
คุณโอภาส (ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบัน) 
ปีนี้เขาอายุ 50 ปี เขาสามารถทำงานให้บริษัทได้อีก 10 ปี
ภาพรวมตลาดคอนโดฯ 
ทุกผู้ประกอบการตอนนี้ถูกบีบกันมาแล้ว 
เพราะเขาต้องมาทำของจริง (พัฒนาคอนโดฯ ราคา 1-3 ล้าน) 
ฟองสบู่ต้องมีวันที่ฟองมันเต็มแล้ว (คอนโดราคาแพง) 
LPN ไปทำตรงไหนๆ รับรองขายหมด คนรอซื้ออยู่ 
เราไม่ขายของที่ราคามันเว่อร์ เราบอกว่ากำไรของเราขอแค่นี้ 
ไม่ขอมากกว่านี้ ส่วนที่จะได้มากกว่านี้แบ่งให้คนซื้อไป 
ปรัชญาการทำธุรกิจของเราคือ Twenty Miles March 
ไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือคลื่นสงบ เรายังคงโตในอัตราคงที่
จังหวะการก้าวเดินในการทำธุรกิจของเราจะสม่ำเสมอตลอด
ชุมชนน่าอยู่ จะต่อยอดอะไรอีกไหม
เรื่องคนยาก เพราะแต่ละคนคิดถึงแต่ละคนเป็นหลัก
จะให้คิดถึงคนอื่นผมถามว่ายากไหม...ยากครับ
เรื่องนี้เวลาอีกยาวไกล เราก็พัฒนาอย่างอื่นใส่เข้าไป 
เพราะบรรทัดสุดท้ายเมื่อลูกค้ารับโอนห้องชุดของ LPN นั่นคือ 
เราส่งมอบคุณค่าของการอยู่ร่วมกัน

คุณค่าขององค์กร LPN คืออะไร
คุณค่าขององค์กรเกิดจากใจของบุคลากรทั้งองค์กร 
เราต้องมองให้ออกว่า ตรงไหนที่ทำให้เราเติบโตเป็นตัวเป็นตน
ขึ้นมาได้ และเราจะสร้างต่อเนื่องจากคุณค่าตรงนี้ได้อย่างไร 
การมองอนาคตองค์กรต้องหันกลับไปมองในเรื่องที่เราผ่านมา 
เพราะเราเรียนรู้จากตรงนั้น แนวคิดของ “ชุมชนน่าอยู่” 
จึงไม่ต่างอะไรกับบัตรสมาร์ทพาสบีทีเอส ที่สร้าง
องค์กรแอลพีเอ็นไปสู่ความสำเร็จในธุรกิจ เพราะหัวใจของ
การสร้างชุมชนให้น่าอยู่คือการสร้างให้มีชีวิต ไม่ใช่ส่งมอบ
สิ่งปลูกสร้างที่ไร้จิตใจ เราเปรียบเปรยได้ว่า ไม่ต่างอะไรกับ
การเดินออกจากตู้โดยสารบีทีเอส บางคนเลือกที่จะมองแค่
ประตูเพื่อเอาตัวเองออกมา ขณะที่บางคนไม่ได้มองแค่ประตู 
แต่มองว่าจะออกจากชานชาลาได้อย่างไร โดยไม่ต้อง
เบียดเสียดกับผู้คน “การเดินในช่วงที่ผู้คนหนาแน่น เราต้อง
ระวังตัวไม่ให้กระแสผลักเราไป ต้องรู้จักวิธีการเดินเลียบกำแพง 
ชิดขวาชิดซ้าย แล้วเลือกเดินในวิธีของเรา 
ถ้าเราต้องการเดินให้เร็ว ไม่ต้องเดินตามขบวนไม่ว่าจะเป็น
การใช้ชีวิตหรือการทำธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีรูปแบบเดียวกันคือ 
ต้องมีสำนึกแห่งความเร่งรีบ (Sense of Urgency) 
รู้จักใส่ใจ และไม่ทำอะไรเรื่อยเปื่อย 
ความสำเร็จขององค์กรแห่งนี้ มาจากการดิ้นรนตัวเองให้หลุด
จากโซนเคยชิน (Comfort Zone) 
ในช่วงวิกฤติปี 2540 ด้วยการขยับจากวิธีคิดที่เป็นไปไม่ได้ 
ต้องตายแน่ๆ มาอยู่บนฐานความคิดที่อะไรก็เป็นไปได้
จนสามารถผลักดันคนกว่าร้อยคน มาสร้างพลังขับเคลื่อนธุรกิจ 
แต่เมื่อธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงจนหมุนวนมาครบรอบ 23 ปี 
สิ่งที่ผู้นำเริ่มกริ่งเกรงก็คือ จะเกิดอะไรขึ้น 
ถ้าธุรกิจผลักตัวเองไปให้จมอยู่ใน Comfort zone อีกครั้ง 
“พนักงานทุกคนรู้สึกว่าบริษัทมั่นคงเป็นที่ยอมรับ และเจริญ
เติบโต ความรู้สึกแบบนี้จะทำให้คนของเราสบายตัวจนไม่
ระแวดระวังสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามาอีกหลายระลอก”